Episodes

Tuesday Aug 10, 2021
Sci เข้าหู EP.7 - เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง อาหารแห่งอนาคต
Tuesday Aug 10, 2021
Tuesday Aug 10, 2021
เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงเกิดขึ้น เพื่อหวังแก้ปัญหาความต้องการเนื้อสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการที่กระบวนการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบดั้งเดิมที่ต้องใช้ทั้งพลังงาน น้ำ และที่ดิน ซึ่งส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนปัญหาทางจริยธรรมในการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำเนื้อมาบริโภค
รายการ Science เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ จึงได้ชวน “จัส” ณภัทร ตัณฑิกุล นักวิจัยด้านสเต็มเซลล์และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ดีกรีผู้ชนะเฟมแล็บ ไทยแลนด์ 2019 ผู้มีประสบการตรงจากการทำงานวิจัยในอเมริกา มาร่วมพูดคุยในประเด็นเรื่องของ เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงที่กำลังเริ่มมีจำหน่ายในท้องตลาดของต่างประเทศแล้ว

Tuesday Aug 03, 2021
Sci เข้าหู EP.6 - Jitasa.care รวมพลังคนไทย ในภาวะวิกฤต COVID-19
Tuesday Aug 03, 2021
Tuesday Aug 03, 2021
การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทยที่กำลังเข้าขั้นวิกฤตในปัจจุบัน ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสาธาณสุขของประเทศไทย ในการรับมือวิกฤตครั้งนี้
รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ จึงได้เชิญ คุณวสันชัย วงศ์สันติวนิช หัวหน้าทีม Developers ผู้สร้างสรรค์ Jitasa.Care (https://www.jitasa.care/) แพลตฟอร์มที่เป็นเครื่องมือกลางในการเชื่อมโยงทุกคนเข้าด้วยกัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด โดยสามารถติดตามสถานะของสถานที่สำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดตรวจโควิด, โรงพยาบาลสนาม, จุดพักคอย, วัด ซึ่งคนไทยทุกคนเป็นอาสาสมัครได้ถ้าเราช่วยกัน

Tuesday Jul 27, 2021
Sci เข้าหู EP.5 - CRISPR/Cas9 ความหวังใหม่ในการรักษาโรค และแบบตรวจสอบ COVID-19
Tuesday Jul 27, 2021
Tuesday Jul 27, 2021
เทคโนโลยี CRIPR/Cas9 เป็นเทคนิคที่ใช้ในการตัดต่อพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ที่มีความแม่นยำ ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่าเทคโนโลยีอื่น โดยนักวิจัยทั่วโลกกำลังศึกษาการใช้ CRISPR ในการรักษาโรคทางพันธุกรรม พลังงานทดแทน การพัฒนาด้านอาหารและการรักษาโรคมะเร็ง ตลอดจนพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้ทนกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ รวมถึงการพัฒนาใช้งานเป็นแบบตรวจสอบ COVID-19
รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ จึงได้เชิญ ผศ.ดร.ธนรรถ ชูขจร จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในคณะผู้เขียนหนังสือเรื่อง เทคโนโลยีการตัดต่อจีโนมด้วยวิธี CRISPR/Cas9 มาร่วมพูดคุยเพื่ออธิบายให้เราเข้าใจถึงเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก

Thursday Jul 22, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.51 - คลื่นความร้อนและไฟป่า แคนาดา-สหรัฐอเมริกา
Thursday Jul 22, 2021
Thursday Jul 22, 2021
ก่อ กอง Science ในตอนนี้จะชวนมาเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับข่าวสำคัญที่เกิดขึ้น ทางแถบทวีปอเมริกาตอนเหนือ นั่นคือเรื่องราวของ “คลื่นความร้อน” ซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้แก่ “ไฟป่า” แม้จะฟังดูตรงไปตรงมา แต่เหตุการณ์นี้ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านภูมิศาสตร์ วิถีชีวิตผู้คน รวมถึงภาวะโลกร้อน เรามาฟังดูว่ารายละเอียดเป็นอย่างไรบ้างในพอดแคสตอนนี้ครับ

Tuesday Jul 20, 2021
Sci เข้าหู EP.4 - สัมพันธ์อวกาศจีน สัมพันธ์อวกาศโลก
Tuesday Jul 20, 2021
Tuesday Jul 20, 2021
จากข่าวความสำเร็จของวงการอวกาศจีนอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-5 กับภารกิจสำรวจดวงจันทร์เพื่อเก็บตัวอย่างหินและชั้นดินบนดวงจันทร์กลับมายังโลกได้สำเร็จ ตามมาด้วยการส่งหุ่นยนต์ตระเวนสำรวจ "จู้หรง" ลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคาร และล่าสุดกับการสร้างสถานีอวกาศเป็นของตัวเอง
รายการ Science เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ จึงได้ชวน พีรภัทร อัครคุปต์ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ และคุณนภสร จงจิตตานนท์ นักยุทธศาสตร์ จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สองผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมองที่มีต่อความสัมพันธ์ขององค์กรอวกาศจีน และองค์กรอวกาศทั่วโลก

Thursday Jul 15, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.50 - พายุฝนฟ้าคะนอง หลายรูปแบบ
Thursday Jul 15, 2021
Thursday Jul 15, 2021
ก่อ กอง Science ในตอนนี้จะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับพายุฝนฟ้าคะนองรูปแบบต่างๆ ซึ่งประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่พายุฝนจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน โดยมีรูปแบบไม่หลากหลายเท่ากับต่างประเทศ วันนี้เรามาเรียนรู้กันว่าพายุฝนฟ้าคะนองมีรูปแบบใดบ้างและเรียกว่าอย่างไร พร้อมกับตัวอย่างข่าวของพายุแบบซูเปอร์เซลล์ที่ยุโรปมีอะไรบ้าง ติดตามได้ในพอดแคสต์ตอนนี้ครับ

Tuesday Jul 13, 2021
Sci เข้าหู EP.3 - Star Explorer ความหมายของชีวิตนักสำรวจดวงดาว
Tuesday Jul 13, 2021
Tuesday Jul 13, 2021
ท้องฟ้า ดวงดาว หมู่ดาว และจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลที่มนุษย์เราเฝ้ามองดู และศึกษาหาความรู้มายาวนาน มีชื่อเรียกศาสตร์นี้ว่า “ดาราศาสตร์” เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีมนต์เสน่ห์ ทำให้ใครหลายคนมุ่งมั่นศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
รายการ Science เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ จึงได้ชวน คุณกีรติ คำคงอยู่ หรือคุณเบียร์ ผู้ก่อตั้งเพจ Antares StarExplorer นักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์มืออาชีพ เจ้าของรางวัลชนะเลิศภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2562 ประเภทภาพถ่าย Deep Sky Objects, ภาพถ่ายปรากฏการทางดาราศาสตร์ และภาพถ่ายวัตถุในระบบสุริยะ จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ผู้ประกาศอุทิศตน ขอนำความรู้ทางดาราศาสตร์มาถ่ายทอดผ่านการทำกิจกรรมมอบให้แก่เด็กๆ เยาวชน และผู้ปกครอง ขอเป็นแสงจากไม้ขีดไฟ เพื่อจุดประกายให้เด็กๆ ได้ก้าวไปตามความฝันของตนเอง

Thursday Jul 08, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.49 - ภูเขาไฟ Nyiragongo ปะทุ
Thursday Jul 08, 2021
Thursday Jul 08, 2021
ก่อ กอง Science ในตอนนี้จะพูดถึงเรื่องที่อาจจะฟังดูไกลตัว แต่ควรรู้เพราะอาจส่งผลถึงเราได้ นั่นคือเรื่องของข่าวสำคัญเรื่อง “การปะทุของภูเขาไฟ Nyiragongo” ภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (คนละประเทศกับสาธารณรัฐคองโก) ในทวีปแอฟริกาใต้ เรามาติดตามกันว่าปัจจัยของการเกิดภูเขาไฟในภูมิภาคนี้คืออะไร ภัยแฝงซ่อนเร้นจากภูเขาไฟระเบิด เช่น การฟุ้งกระจายของก๊าซจากการปะทุ ความดังของเสียง ท้องฟ้าเปลี่ยนสีเนื่องจากฝุ่นควัน รวมทั้งความเร็วของการไหลของลาวาขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง ติดตามได้ในพอดแคสต์ตอนนี้ครับ

Tuesday Jul 06, 2021
Sci เข้าหู EP.2 - ไขประเด็น Fake news ในวิกฤตโควิด 19
Tuesday Jul 06, 2021
Tuesday Jul 06, 2021
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยังคงน่ากังวลในปัจจุบัน ทำให้คนในสังคมต่างได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน และคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดทั้งสื่อสังคมออนไลน์ และข่าวสารจากช่องทางต่างๆ แต่ก็มีประเด็นความสับสนมากมายที่เป็น Fake news หรือข่าวลวงที่สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวัคซีน และการรักษาโรคโควิด 19
รายการ Science เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ จึงได้ชวน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับเรื่อง "จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่" ที่เป็นประเด็นบนโลกออนไลน์และสังคมไทย มาอธิบายให้ความกระจ่างชัดต่อประชาชน มาร่วมพูดคุยในประเด็นเรื่องของ Fake news หรือข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19

Thursday Jul 01, 2021
Thursday Jul 01, 2021
ก่อ กอง Science ในตอนนี้เราได้พูดคุยกับ ดร.ฉัตรชัย ศรีสุรางค์กุล นักวิจัย จากทีมวิจัยการออกแบบและแก้ปัญหาอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ เอ็มเทค ในเรื่องของความปลอดภัยในยานยนต์ไฟฟ้า ในแง่มุมของการเปลี่ยนสภาพจากรถที่ใช้น้ำมันสู่รถใช้ไฟฟ้า ว่าต้องคำนึงถึงประเด็นต่างอะไรบ้าง เช่น ระบบขับเคลื่อนและระบบการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงความปลอดภัยต่างๆ เพื่อให้เป็นมิตรต่อผู้ใช้มากที่สุด เรามาฟังกันว่าสิ่งที่ต้องรู้มีอะไรบ้าง ติดตามได้ในพอดแคสต์ตอนนี้ครับ