Episodes
Monday Sep 04, 2023
Monday Sep 04, 2023
คนไทยเรารู้จักและใช้ไผ่ ได้สารพัดประโยชน์ ทั้งกิน ก่อสร้าง ใช้เป็นภาชนะ และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสมบัติที่ดีของไผ่ คือ โตเร็ว กระจายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง สามารถหมุนเวียนและทดแทนต้นที่ถูกตัดได้เร็ว จึงถือเป็นทรัพยากรที่มีศักยภาพในการทดแทนสูงและยั่งยืน
วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ได้รับเกียรติจาก ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัย ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สวทช. จะมาร่วมพูดคุยเพื่อบอกเล่าถึงงานวิจัย การพัฒนากล้าพันธุ์ไผ่ที่มีคุณภาพดี และขยายกล้าพันธุ์ไผ่ในระดับอุตสาหกรรมด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเป็นประโยชน์ในการปลูกป่าเศรษฐกิจแก่เกษตรกรไทย
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/-sdCpKdXEvc
Monday Aug 14, 2023
Sci เข้าหู EP.61 - แอปพลิเคชัน “รู้ทัน” พร้อมรับมือการระบาดของโรคไข้เลือดออก
Monday Aug 14, 2023
Monday Aug 14, 2023
ช่วงนี้เราได้ยินข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกกันบ่อยครั้ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “แอปพลิเคชันรู้ทัน” เกิดจากความร่วมมือของ เนคเทค สวทช. และกรมควบคุมโรค ร่วมกันวิจัยและพัฒนา “ชุดซอฟต์แวร์ทันระบาด” เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหรือรับการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสาร ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันและได้รับความเสี่ยงน้อยที่สุด
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/MGefVnHwapY
Wednesday Jul 26, 2023
Sci เข้าหู EP.60 - นวัตกรรมความงามด้วยเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ
Wednesday Jul 26, 2023
Wednesday Jul 26, 2023
สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องความงามพลาดไม่ได้กับงานวิจัยที่น่าสนใจเรื่อง นวัตกรรมความงามด้วยเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ
วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด หรือ ดร.ธง นักวิจัยจากทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NANOTEC สวทช. จะมาเล่าถึงผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ที่ได้ส่งต่อภาคเอกชนสู่นวัตกรรมความงามถึงมือผู้ใช้
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/pVuGTkNv3es
Tuesday Jun 27, 2023
Tuesday Jun 27, 2023
ปรากฏการณ์ “เอลนีโญและลานีญา” (El Niño, La Niña ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปรากฏการณ์เอนโซ (ENSO) มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างไรบ้าง ?
ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในเรื่องของภาวะภัยแล้ง น้ำท่วม อากาศร้อนจัดหรือไม่ เรามาร่วมค้นหาคำตอบร่วมกันกับ ดร.ปิงปิง พรอำไพ นเรนทร์พิทักษ์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/k_Oo7H8mBBI
Tuesday Jun 20, 2023
Sci เข้าหู EP.58 - พาเที่ยวศูนย์อวกาศฮุสตัน Space Center Houston
Tuesday Jun 20, 2023
Tuesday Jun 20, 2023
ศูนย์อวกาศฮุสตัน (Space Center Houston) รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เป็นศูนย์นักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการของ NASA Johnson Space Center ของนาซา มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 สำหรับสถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์บังคับการสำหรับภารกิจการปล่อยยานอวกาศที่สำคัญหลายโครงการ รวมถึงโครงการ Apollo 11 ที่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก
ปัจจุบันศูนย์อวกาศฮุสตันเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าชมและเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตในอวกาศ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ หรืออาจารย์อาร์ม อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์อวกาศฮุสตัน จะมาถ่ายทอดประสบการณ์และพาทุกคนเที่ยวชมแบบสุด exclusive
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/uYkzn7ByiU4
Monday May 15, 2023
Sci เข้าหู EP.57 - ท้าความคิดเยาวชนไทย เสนอไอเดียทดลองในอวกาศ
Monday May 15, 2023
Monday May 15, 2023
เมื่อเรานึกถึงสถานีอวกาศนานาชาติที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกประมาณ 400 กิโลเมตร เราจะเห็นภาพวัตถุต่าง ๆ ล่องลอยไร้ทิศทาง เนื่องจากอยู่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ ซึ่งแตกต่างกับบนโลกที่มีแรงโน้มถ่วง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้ผลลัพธ์แตกต่างจากบนโลก และเกิดเป็นนวัตกรรมมากมายที่ใช้ในชีวิตประจำวันบนโลกของเรา
และช่วงนี้เป็นโอกาสดีของเยาวชนไทยที่จะได้มีโอกาสได้ส่งแนวคิดการทดลอง เพื่อให้นักบินอวกาศญี่ปุ่นได้ทำให้ดูบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผ่านโครงการ Asian Try Zero-G 2023 โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ JAXA ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นี้
รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้ชวน 2 เยาวชนผู้ผ่านการคัดเลือกโครงการ Asian Try Zero-G 2022 และมีโอกาสได้เดินทางไปชมการทดลองที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น มาถ่ายทอดประสบการณ์ และแบ่งปันแนวคิดในการเสนอไอเดียการทดลองสมัครเข้าร่วมโครงการจนประสบความสำเร็จ คนแรกคือ นางสาวจิณณะ วัยวัฒนะ หรือน้องพรีม ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 Tokyo Institute of Technology
ประเทศญี่ปุ่น และนางสาวอินทิราภรณ์ เชาว์ดี หรือน้องปาย ปัจจุบันทำงานเป็นเภสัชกรปฎิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/OO8wipLMCpk
Monday May 08, 2023
Sci เข้าหู EP.56 - เผยเคล็ดลับเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA
Monday May 08, 2023
Monday May 08, 2023
หุ่นยนต์ที่ชื่อ Astrobee ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ พัฒนาโดย NASA Ames Research Center มีหน้าที่ช่วยลดเวลาการทำงานประจำวันของนักบินอวกาศ โดยทำงานผ่านการสั่งการด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุม
และเป็นโอกาสดีของเยาวชนไทยที่จะมีโอกาส เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JAVA ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผ่านโครงการ Kibo Robot Programming Challenge ครั้งที่ 4 ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ (เว็บไซต์โครงการแข่งขัน https://www.nstda.or.th/spaceeducation/kibo-rpc-2023/)
วันนี้รายการ Sci เข้าหู ได้ชวนตัวแทนเยาวชนโครงการแข่งขัน Kibo Robot มาร่วมพูดคุย 2 คนครับ คนแรกคือ นายธฤต วิทย์วรสกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 1 Faculty of Science, University of British Columbia ตัวแทนเยาวชนทีมชนะเลิศในการแข่งขันครั้งที่ 2 และนายภูรี เพ็ญหิรัญ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนเยาวชนทีมชนะเลิศ ในการแข่งขันครั้งที่ 3 มาร่วมพูดคุยเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงการ และเผยเคล็ดลับความสำเร็จทำให้คว้าแชมป์ประเทศไทย
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/wguA59tW-lA
Monday May 01, 2023
Sci เข้าหู EP.55 - ”บอทโรคข้าว” แชตบอตช่วยเกษตรกรไทยวินิจฉัยโรคข้าวได้ทันที
Monday May 01, 2023
Monday May 01, 2023
ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายสำคัญของโลก สร้างรายได้นำกลับเข้าประเทศมากกว่าแสนล้านบาทต่อปี แต่กลับไม่ได้สะท้อนถึงผลกำไรที่เกษตรกรควรได้รับ เพราะชาวนาไทยส่วนใหญ่ต้องเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ความแปรปรวนของสภาพอากาศ รวมถึงวิกฤตโรคระบาดที่ฉุดรั้งผลผลิตข้าวไทย
เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ทีมวิจัยจาก สวทช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พัฒนา ‘ไลน์บอทโรคข้าว’ แชตบอตสำหรับให้บริการวินิจฉัยโรคข้าวผ่านภาพถ่าย เพื่อให้คำแนะนำในการควบคุมโรคอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีแก่เกษตรกร เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อกปัญหาการรับมือกับโรคระบาด ลดต้นทุนการใช้สารเคมีที่ และยกระดับผลผลิตข้าวไทยให้มากขึ้น
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก คุณวศิน สินธุภิญโญ นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค - สวทช. และ ผศ. ดร.สุจินต์ ภัทรภูวดล อาจารย์ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาร่วมพูดคุยบอกเล่าแพลตฟอร์มไลน์บอทโรคข้าวที่จะมาช่วยเกษตรกรไทยผู้ปลูกข้าว
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/ln9AMQm_7R4
Tuesday Apr 18, 2023
Sci เข้าหู EP.54 - ทีมวิศวกรรมอวกาศ “คีตะ” พาอาหารไทยไปอวกาศ
Tuesday Apr 18, 2023
Tuesday Apr 18, 2023
วันนี้เราจะมาอัปเดตความก้าวหน้างานวิจัยอาหารอวกาศของทีม KEETA ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเข้าร่วมแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีอาหารอวกาศ “Deep Space Food Challenge” ที่จัดขึ้นโดย NASA CSA และ Methuselah Foundation เป็นการแข่งขันเพื่อเตรียมอาหารสำหรับนักบินอวกาศ 4 คน ให้สามารถทำงานอยู่นอกโลกนานถึง 3 ปี
และในครั้งนี้เราจะได้พูดคุยกับทีม KEETA เป็นครั้งที่ 2 แล้ว โดยห่างจากครั้งแรกเกือบ 2 ปี ใครที่สนใจอยากย้อนไปฟังจุดเริ่มต้นของทีม KEETA สามารถดูย้อนหลังได้ที่ EP20 โดยในวันนี้แขกรับเชิญพิเศษของเรา 2 ท่าน เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทำงาน เข้ามาส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรมต่อไป คือ ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร หรืออาจารย์ปอ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ ดร.โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์ หรืออาจารย์เกีย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/yTsvhVw6f-c
Monday Apr 03, 2023
Monday Apr 03, 2023
ปัจจุบันนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีนะคะว่าประเทศไทยของเรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมอายุยืน” อย่างเต็มรูปแบบ แล้วเราจะทำอย่างไรให้การมีชีวิตยืนยาวนั้นมีคุณภาพ ลดการพึ่งพา และยังมีคุณค่าต่อสังคม
เพื่อตอบคำถามนี้ ทางนักวิจัยเอ็มเทค สวทช. ได้ออกแบบนวัตกรรมบอดี้สูท สำหรับผู้สูงอายุที่มีชื่อว่า “เรเชล” (Rachel – Motion-assist Bodysuit) ที่สามารถสวมใส่ได้ตลอดทั้งวัน ช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เสริมแรงให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ เคียงคู่กับผู้สูงอายุได้ตลอดในกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้นยืน เดินขึ้นบันได ทำงานบ้าน
วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ หรือ ดร.แม นักวิจัย ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สวทช. จะมาเล่าถึงนวัตกรรมเรเชล แชร์ประสบการณ์ความท้าทายในการออกแบบวิจัยและพัฒนาที่มีการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปี
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/KszVLQCO0iM