Episodes

Monday May 15, 2023
Sci เข้าหู EP.57 - ท้าความคิดเยาวชนไทย เสนอไอเดียทดลองในอวกาศ
Monday May 15, 2023
Monday May 15, 2023
เมื่อเรานึกถึงสถานีอวกาศนานาชาติที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกประมาณ 400 กิโลเมตร เราจะเห็นภาพวัตถุต่าง ๆ ล่องลอยไร้ทิศทาง เนื่องจากอยู่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ ซึ่งแตกต่างกับบนโลกที่มีแรงโน้มถ่วง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้ผลลัพธ์แตกต่างจากบนโลก และเกิดเป็นนวัตกรรมมากมายที่ใช้ในชีวิตประจำวันบนโลกของเรา
และช่วงนี้เป็นโอกาสดีของเยาวชนไทยที่จะได้มีโอกาสได้ส่งแนวคิดการทดลอง เพื่อให้นักบินอวกาศญี่ปุ่นได้ทำให้ดูบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผ่านโครงการ Asian Try Zero-G 2023 โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ JAXA ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นี้
รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้ชวน 2 เยาวชนผู้ผ่านการคัดเลือกโครงการ Asian Try Zero-G 2022 และมีโอกาสได้เดินทางไปชมการทดลองที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น มาถ่ายทอดประสบการณ์ และแบ่งปันแนวคิดในการเสนอไอเดียการทดลองสมัครเข้าร่วมโครงการจนประสบความสำเร็จ คนแรกคือ นางสาวจิณณะ วัยวัฒนะ หรือน้องพรีม ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 Tokyo Institute of Technology
ประเทศญี่ปุ่น และนางสาวอินทิราภรณ์ เชาว์ดี หรือน้องปาย ปัจจุบันทำงานเป็นเภสัชกรปฎิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/OO8wipLMCpk

Monday May 08, 2023
Sci เข้าหู EP.56 - เผยเคล็ดลับเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA
Monday May 08, 2023
Monday May 08, 2023
หุ่นยนต์ที่ชื่อ Astrobee ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ พัฒนาโดย NASA Ames Research Center มีหน้าที่ช่วยลดเวลาการทำงานประจำวันของนักบินอวกาศ โดยทำงานผ่านการสั่งการด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุม
และเป็นโอกาสดีของเยาวชนไทยที่จะมีโอกาส เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JAVA ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผ่านโครงการ Kibo Robot Programming Challenge ครั้งที่ 4 ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ (เว็บไซต์โครงการแข่งขัน https://www.nstda.or.th/spaceeducation/kibo-rpc-2023/)
วันนี้รายการ Sci เข้าหู ได้ชวนตัวแทนเยาวชนโครงการแข่งขัน Kibo Robot มาร่วมพูดคุย 2 คนครับ คนแรกคือ นายธฤต วิทย์วรสกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 1 Faculty of Science, University of British Columbia ตัวแทนเยาวชนทีมชนะเลิศในการแข่งขันครั้งที่ 2 และนายภูรี เพ็ญหิรัญ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนเยาวชนทีมชนะเลิศ ในการแข่งขันครั้งที่ 3 มาร่วมพูดคุยเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงการ และเผยเคล็ดลับความสำเร็จทำให้คว้าแชมป์ประเทศไทย
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/wguA59tW-lA

Monday May 01, 2023
Sci เข้าหู EP.55 - ”บอทโรคข้าว” แชตบอตช่วยเกษตรกรไทยวินิจฉัยโรคข้าวได้ทันที
Monday May 01, 2023
Monday May 01, 2023
ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายสำคัญของโลก สร้างรายได้นำกลับเข้าประเทศมากกว่าแสนล้านบาทต่อปี แต่กลับไม่ได้สะท้อนถึงผลกำไรที่เกษตรกรควรได้รับ เพราะชาวนาไทยส่วนใหญ่ต้องเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ความแปรปรวนของสภาพอากาศ รวมถึงวิกฤตโรคระบาดที่ฉุดรั้งผลผลิตข้าวไทย
เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ทีมวิจัยจาก สวทช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พัฒนา ‘ไลน์บอทโรคข้าว’ แชตบอตสำหรับให้บริการวินิจฉัยโรคข้าวผ่านภาพถ่าย เพื่อให้คำแนะนำในการควบคุมโรคอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีแก่เกษตรกร เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อกปัญหาการรับมือกับโรคระบาด ลดต้นทุนการใช้สารเคมีที่ และยกระดับผลผลิตข้าวไทยให้มากขึ้น
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก คุณวศิน สินธุภิญโญ นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค - สวทช. และ ผศ. ดร.สุจินต์ ภัทรภูวดล อาจารย์ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาร่วมพูดคุยบอกเล่าแพลตฟอร์มไลน์บอทโรคข้าวที่จะมาช่วยเกษตรกรไทยผู้ปลูกข้าว
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/ln9AMQm_7R4

Tuesday Apr 18, 2023
Sci เข้าหู EP.54 - ทีมวิศวกรรมอวกาศ “คีตะ” พาอาหารไทยไปอวกาศ
Tuesday Apr 18, 2023
Tuesday Apr 18, 2023
วันนี้เราจะมาอัปเดตความก้าวหน้างานวิจัยอาหารอวกาศของทีม KEETA ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเข้าร่วมแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีอาหารอวกาศ “Deep Space Food Challenge” ที่จัดขึ้นโดย NASA CSA และ Methuselah Foundation เป็นการแข่งขันเพื่อเตรียมอาหารสำหรับนักบินอวกาศ 4 คน ให้สามารถทำงานอยู่นอกโลกนานถึง 3 ปี
และในครั้งนี้เราจะได้พูดคุยกับทีม KEETA เป็นครั้งที่ 2 แล้ว โดยห่างจากครั้งแรกเกือบ 2 ปี ใครที่สนใจอยากย้อนไปฟังจุดเริ่มต้นของทีม KEETA สามารถดูย้อนหลังได้ที่ EP20 โดยในวันนี้แขกรับเชิญพิเศษของเรา 2 ท่าน เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทำงาน เข้ามาส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรมต่อไป คือ ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร หรืออาจารย์ปอ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ ดร.โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์ หรืออาจารย์เกีย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/yTsvhVw6f-c

Monday Apr 03, 2023
Monday Apr 03, 2023
ปัจจุบันนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีนะคะว่าประเทศไทยของเรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมอายุยืน” อย่างเต็มรูปแบบ แล้วเราจะทำอย่างไรให้การมีชีวิตยืนยาวนั้นมีคุณภาพ ลดการพึ่งพา และยังมีคุณค่าต่อสังคม
เพื่อตอบคำถามนี้ ทางนักวิจัยเอ็มเทค สวทช. ได้ออกแบบนวัตกรรมบอดี้สูท สำหรับผู้สูงอายุที่มีชื่อว่า “เรเชล” (Rachel – Motion-assist Bodysuit) ที่สามารถสวมใส่ได้ตลอดทั้งวัน ช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เสริมแรงให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ เคียงคู่กับผู้สูงอายุได้ตลอดในกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้นยืน เดินขึ้นบันได ทำงานบ้าน
วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ หรือ ดร.แม นักวิจัย ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สวทช. จะมาเล่าถึงนวัตกรรมเรเชล แชร์ประสบการณ์ความท้าทายในการออกแบบวิจัยและพัฒนาที่มีการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปี
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/KszVLQCO0iM

Tuesday Mar 14, 2023
Sci เข้าหู EP.52 - Gunther Bath นวัตกรรมตรวจจับและแจ้งเตือนการหกล้มในห้องน้ำ
Tuesday Mar 14, 2023
Tuesday Mar 14, 2023
หากเราพูดถึงปัญหาการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุภายในบ้าน นอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต หรือการเสื่อมถอยของร่างกายอย่างเฉียบพลันแล้ว ยังส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวอีกด้วย
จากโจทย์ปัญหานี้ทางนักวิจัยเอ็มเทค สวทช. จึงได้ออกแบบนวัตกรรม ที่มีชื่อว่า “กันเธอ บาธ” ระบบตรวจจับการพลัดตกหกล้มด้วยอุปกรณ์ที่ติดตั้งในสิ่งแวดล้อม เช่น ผนังห้อง และใช้โครงข่ายประสาทเทียมทำนายเหตุการณ์พลัดตกหกล้ม ซึ่งจะติดตั้งในบริเวณที่อยู่อาศัย ใช้เทคโนโลยีไร้สายรับส่งสัญญาณการเคลื่อนที่ของผู้สูงอายุ หากเกิดเหตุการณ์พลัดตกหกล้ม ระบบจะแจ้งเตือนหรือส่งสัญญาณไปยังผู้ดูแลให้ทราบ
วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ หรือ ดร.ตั้ม ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มาร่วมพูดคุย บอกเล่าถึงนวัตกรรมตรวจจับและแจ้งเตือนการหกล้มในห้องน้ำ ที่ชื่อ Gunther Bath
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/4g7irNN6NYM

Monday Feb 20, 2023
Sci เข้าหู EP.51 - น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น
Monday Feb 20, 2023
Monday Feb 20, 2023
ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย “น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น” ซึ่งเป็นนวัตกรรมสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับการเคลือบแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อลดการเกาะตัวของฝุ่น ลดภาระการบำรุงรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า
นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ หรือ ดร.เอิ๊ก นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือนาโนเทค สวทช. และ Managing Director บริษัทนาโน โค๊ตติ้ง เทค จำกัด จะมาเล่าถึงผลงานวิจัยชิ้นนี้ รวมถึงชีวิตและตัวตนที่น่าสนใจของ ดร.เอิ๊ก
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/dCNpkyhCdAI

Tuesday Jan 31, 2023
Sci เข้าหู EP.50 - มิว สเปซ คลื่นลูกใหม่แห่งวงการเทคโนโลยีอวกาศไทย
Tuesday Jan 31, 2023
Tuesday Jan 31, 2023
บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ดำเนินกิจการภายใต้ชื่อ มิว สเปซ คอร์ป เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนด้านการบินและอวกาศ และให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ซึ่งก่อตั้งโดย วรายุทธ เย็นบำรุง เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยมีเป้าหมายที่จะค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการให้บริการดาวเทียม พัฒนาเทคโนโลยีด้านการบินและอวกาศ รวมถึงจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี และให้บริการด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจากคุณศมาธร เทียนกิ่งแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด มาร่วมพูดคุย บอกเล่าผลงานต่าง ๆ บริษัท มิว สเปซ ที่มีส่วนสำคัญช่วยผลักดันวงการเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย ให้ก้าวกระโดดสู่อุตสาหกรรมอวกาศระดับโลก
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/PXIOKeW3tC8

Monday Jan 09, 2023
Sci เข้าหู EP.49 - แปลงเปลือกหอยมุกเหลือทิ้งเป็นไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต
Monday Jan 09, 2023
Monday Jan 09, 2023
งานวิจัย “การแปลงเปลือกหอยมุกเหลือทิ้งเป็นไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต” ผลงานที่เพิ่งได้รับรางวัลเหรียญทองแดง มาจากงาน SIIF 2022 ที่เกาหลีใต้ เป็นงานวิจัยที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาวัสดุเหลือทิ้งให้กับผู้ประกอบการ และยังสร้างโอกาสเชิงพาณิชย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต นำไปสู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลกอีกด้วย
นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ หรือ ดร.บาส นักวิจัยจากกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NANOTEC สวทช. จะมาเล่าถึงทุกแง่มุมของผลงานวิจัยชิ้นนี้ รวมถึงชีวิตและตัวตนของ ดร.บาส เพื่อเป็นแนวทางการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิต
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/eLaD-XcNzVY

Friday Nov 18, 2022
Sci เข้าหู EP.48 - เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 18
Friday Nov 18, 2022
Friday Nov 18, 2022
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 18 เพื่อเฉลิมฉลองการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกาและตะวันออกกลาง ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่น โดยเทศกาลจะนำเสนอประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เข้าถึงได้ง่ายและสนุกสนานแก่ผู้ชมในวงกว้าง และแสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์สามารถสนุกได้ โดยในปีนี้มีภาพยนตร์จำนวน 91 เรื่อง จาก 27 ประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือก และนำไปจัดฉายในเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565
นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติเป็นจาก คุณอันเดรียส เคลมพิน หรือ คุณเอ ผู้จัดการเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์นานาชาติ และโครงการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และคุณภควดี วงค์คำแสน หรือคุณยีนส์ ให้เกียรติมาร่วมพูดคุย บอกเล่าถึงความเป็นมาและความน่าสนใจของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ หรือ Science Film Festival ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/bCuF9D4_xGA