Episodes

Tuesday Aug 09, 2022
Sci เข้าหู EP.42 - Para Dough ของเล่นจากยางพาราไทย
Tuesday Aug 09, 2022
Tuesday Aug 09, 2022
หากพูดถึงของเล่นที่เด็ก ๆ หลายคนชื่นชอบและคุ้นเคยกันดี นั่นก็คือ “ดินน้ำมัน” ซึ่งการเล่นปั้นดินน้ำมัน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กและพัฒนาสมองเด็กเล็กได้ดี แต่การเล่นดินน้ำมันอาจพบอาการภูมิแพ้ โดยเฉพาะการระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่สัมผัส โดยสารในดินน้ำมันก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น น้ำมันพืชที่ผลิตจากถั่ว สารกันเสีย น้ำมันเครื่อง
เพื่อตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ ‘Para Dough (พาราโด)’ ผลิตภัณฑ์ของเล่นยางสำหรับปั้น มีลักษณะคล้ายดินน้ำมัน แต่ปลอดภัย ไร้กลิ่น ปราศจากสารเคมีอันตราย ผลิตจาก ‘ยางพารา’ พืชเศรษฐกิจของไทย ผลงานวิจัย โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งในปัจจุบันพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับอุตสาหกรรม หนุนตีตลาดของเล่นทางเลือกเพื่อสุขภาพระดับโลก
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ปณิธิ วิรุฬห์พอจิต หรือ ดร.วี นักวิจัยกลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สวทช. ผู้ร่วมวิจัยและพัฒนา Para Dough มาร่วมพูดคุยบอกเล่าเบื้องหลังการพัฒนา Para Dough และความพิเศษสำหรับของเล่นคุณภาพเพื่อเด็ก ๆ ชิ้นนี้
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/nTRNPL_0p2c

Thursday Aug 04, 2022
R&D Sharing 2022 ตอนที่ 5: ดูดซับสารพิษด้วยวัสดุจากของเสียทางการเกษตร
Thursday Aug 04, 2022
Thursday Aug 04, 2022
งาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 5: ดูดซับสารพิษด้วยวัสดุจากของเสียทางการเกษตร โดย ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา NANOTEC สวทช. วันพฤหัสบดีที่ 4 ส.ค. 65 เวลา 10.00 น. - 10.40 น.

Wednesday Jul 27, 2022
R&D Sharing 2022 ตอนที่ 4: ร่วมพัฒนาฐานราก ของประเทศด้วยเทคโนโลยีข้อมูล
Wednesday Jul 27, 2022
Wednesday Jul 27, 2022
งาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 4: ร่วมพัฒนาฐานราก ของประเทศด้วยเทคโนโลยีข้อมูล โดย ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ NECTEC สวทช. วันพุธที่ 27 ก.ค. 65 เวลา 10.00 น. - 10.40 น.

Tuesday Jul 26, 2022
Tuesday Jul 26, 2022
งาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 3: เบต้ากลูแคน มิติใหม่แห่งการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง พบกับ ดร.ไว ประทุมผาย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ BIOTEC สวทช. วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น. - 10.40 น.

Thursday Jul 21, 2022
Thursday Jul 21, 2022
งาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 2: การพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาเปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เปลี่ยนอาหารให้เป็นยา พบกับ พบกับ ดร.สิทธิรักษ์ รอยตระกูล นักวิจัยไบโอเทค สวทช. วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น. - 10.40 น.

Wednesday Jul 20, 2022
R&D Sharing 2022 ตอนที่ 1: อนุรักษ์พันธุ์ไม้ไทย ด้วยเทคโนโลยีจีโนม
Wednesday Jul 20, 2022
Wednesday Jul 20, 2022
งาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 1: อนุรักษ์พันธุ์ไม้ไทย ด้วยเทคโนโลยีจีโนม พบกับ ดร. วิรัลดา ภูตะคาม หัวหน้าทีมวิจัย ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 – 10.40 น.

Tuesday Jul 19, 2022
Sci เข้าหู EP.41 - เปิดประสบการณ์ 4 เยาวชนไทย เข้าร่วม Space Camp ที่ NASA
Tuesday Jul 19, 2022
Tuesday Jul 19, 2022
หากพูดถึงเรื่องอวกาศ ท้องฟ้าและดวงดาว ผมเชื่อได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น น่าศึกษาและค้นคว้าหาความรู้สำหรับเด็กหลาย ๆ คน ในวันนี้ทางรายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้เชิญเยาวชนไทย 4 คน ที่สามารถเดินทางตามความฝันตัวเองผ่านการคัดเลือก ได้เป็นนักเรียนในโครงการทุนการศึกษาค้นพบนักบินอวกาศไทย รุ่นที่ 3 (Discover Thailand’s Astronauts Scholarship Program - DTAS) ไปศึกษาด้านการสำรวจอวกาศเบื้องต้น ที่เมือง Huntsville The Rocket City ของมลรัฐ Alabama สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 21 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม 2565 มาร่วมพูดคุยถ่ายทอดประสบการณ์ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กไทยครับ
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/l1mdGPaSthw

Tuesday Jul 05, 2022
Sci เข้าหู EP.40 - ออกแบบนวัตกรรมทางการแพทย์ ด้วยการไขปริศนาวัสดุนาโน
Tuesday Jul 05, 2022
Tuesday Jul 05, 2022
หากพูดถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันนี้ มีวิวัฒนาการและก้าวหน้าไปอย่างมาก เพื่อช่วยให้มนุษย์มีอายุที่ยาวนานขึ้น เทคโนโลยีหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทางการแพทย์ทั้งการผลิตยา และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ นั่นก็คือ เทคโนโลยีนาโน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เล็กมาก ๆ คุยกันเป็นหนึ่งหน่วยต่อขนาดหนึ่งพันล้านหน่วย และแน่นอนว่าเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแน่ ๆ แล้วเจ้าสิ่งเล็ก ๆ นี้เข้ามามีส่วนช่วยทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างไร
วันนี้รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. จึงได้เชิญ รศ.ดร.ธีระพงษ์ พวงมะลิ (อาจารย์โจ้) อาจารย์ประจำหลักสูตรวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นผู้แต่งหนังสือ “นาโนฟิสิกส์” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ McGraw Hill มาแชร์ประสบการการไขปริศนาวัสดุนาโน เพื่อนำมาใช้ออกแบบนวัตกรรมทางการแพทย์
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/vhzEzYyKUbA

Tuesday Jun 21, 2022
Sci เข้าหู EP.39 - โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ
Tuesday Jun 21, 2022
Tuesday Jun 21, 2022
ทุกวันนี้เราคงได้ยินคำว่า “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” กันบ่อยมากขึ้น เพราะเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาต่อยอดความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ที่เป็นจุดแข็งของประเทศ ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้แก่เยาวชน คนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรจึงได้จัด “โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ” ขึ้น เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อ ได้ร่วมสร้างสรรค์คลิปวิดีโอ สำหรับสื่อสารประเด็นเกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ เข้าใจง่าย และน่าสนใจ สำหรับใช้ในการสื่อสารสร้างการรับรู้ไปยังคนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป
วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. มาร่วมพูดคุยเพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ “โครงการประกวดคลิปวิดีโอ BCG Happy Story: เรื่องนี้ดีต่อใจ” เพื่อที่เราจะได้รับทราบถึงรายละเอียดและความน่าสนใจของโครงการแข่งขัน
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/FoHDVd0F7Hg

Tuesday Jun 07, 2022
Sci เข้าหู EP.38 - ปลุกโปรยความคิดจากประสบการณ์เรียนรู้วิทย์ในต่างแดน โดยครูเด่น
Tuesday Jun 07, 2022
Tuesday Jun 07, 2022
ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ล้วนมีระบบการศึกษา และการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งมีหลายประเทศที่มีความเข้มแข็ง และเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำรูปแบบ และวิธีการสอนวิทยาศาสตร์สามารถนำมาปรับใช้กับสังคมไทยได้
ในปัจจุบัน ประเทศไทยของเรา ได้มุ่งเน้นการส่งเสริม และพัฒนาประเทศด้วยฐานรากทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการพัฒนากำลังคนเป็นส่วนสำคัญ
นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. จึงได้ชวน ผศ.ดร.อำนวย วัฒนกรสิริ หรือ ดร.เด่น จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชสุรินทร์ และผู้ก่อตั้งเพจ Dr.Den Envi&Edu Zones มาร่วมพูดคุยเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในประเทศต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อคนไทย
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/c4J8B2sQSP0