Episodes

Tuesday May 24, 2022
Sci เข้าหู EP.37 - ReLIFE กระจกตาเทียมชีวภาพ
Tuesday May 24, 2022
Tuesday May 24, 2022
ในปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคทางกระจกตามากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก และรอการบริจาคกระจกตาเพื่อใช้ในการรักษา ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนกระจกตาบริจาค ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตประจำวันอย่างยากลำบากเป็นเวลานานจนกว่าจะได้รับการรักษา
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ “ReLIFE” ซึ่งเป็น Deep Tech Startup ทางการแพทย์ ก่อตั้งโดยทีมนักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมเนื้อเยื่อและจักษุแพทย์ จาก สวทช. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ตั้งเป้าเป็นบริษัทแรกของโลกที่สามารถสร้าง “กระจกตาเทียมชีวภาพ” ทดแทนกระจกตาบริจาคที่ขาดแคลน และมอบชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยโรคกระจกตา
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์ นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค-สวทช. ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพ ReLIFE มาร่วมพูดคุยให้ความรู้ในเรื่องของนวัตกรรม "กระจกตาเทียมชีวภาพ" จากเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/aDv_BiltAeI

Tuesday May 10, 2022
Sci เข้าหู EP.36 - ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า ความยั่งยืนทางพันธุกรรมพืชของชุมชน
Tuesday May 10, 2022
Tuesday May 10, 2022
"ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า" ฟักทองพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดน่านที่มีเนื้อสีเหลืองปนเขียวคล้ายสีของไข่เน่า แต่เมื่อผ่าแล้วนำไปนึ่งจะมีเนื้อแน่น เหนียวหนึบ ไม่ยุ่ย รสชาติหวานมัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ จ.น่าน จึงมีเป้าหมายและความต้องการคัดเลือกพันธุ์ฟักทองพื้นเมือง เพื่อขอยื่นจดทะเบียนเป็นพันธุ์ฟักทองของจังหวัดน่าน (Geographical Indications หรือ GI) และยื่นขอคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นเพื่อเป็นสมบัติของชุมชน
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้ร่วมกับ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด พัฒนากลุ่มเกษตรกร นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้าไปถ่ายทอดเพื่อแก้ปัญหา และยกระดับคุณภาพผลผลิตฟักทองของกลุ่มฯ โดยเห็นความสำคัญของ Bio economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เพื่อใช้ทรัพยากรชีวภาพของชุมชน วิเคราะห์สารสำคัญในฟักทองเพื่อหาจุดเด่นและศักยภาพของผลิตภัณฑ์ที่จะยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน
วันนี้รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจากคุณณัฐวุฒิ ดำริห์ นักวิชาการ ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สวทช. มาร่วมพูดคุยบอกเล่าถึงงานวิจัยฟักทองพันธุ์ไข่เน่า สามารถช่วยสร้างความยั่งยืนทางพันธุกรรมพืชของชุมชน และส่งเสริม BCG ในด้านเศรษฐกิจชีวภาพอย่างไรบ้าง
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/1UTFggw5A3s

Tuesday Apr 19, 2022
Tuesday Apr 19, 2022
ในแวดวงการศึกษาเราคงคุ้นเคยกันดีนะคะกับคำว่า STEM ซึ่งย่อมาจาก Science, Technology, Engineering, Mathematics โดย STEM คือ ระบบการศึกษาที่เน้นการเข้าถึงศาสตร์ 4 ชนิด และตอนนี้เราก็เริ่มจะได้เห็นคำว่า STEAM คือ การนำเอา Art (A) เข้ามาบูรณาการการเรียนรู้เพิ่มเติมจาก STEM เพื่อสร้างเด็กนักเรียน STEM ให้คิดแบบสร้างสรรค์มากขึ้น
นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. จึงได้ชวน ฌาณัฐย์ สิทธิปรีดานันท์ หรือนานุ ผู้ก่อตั้ง nmagine creative laboratory (N-LAB) และยังเป็นนักเขียนคอลัมน์ Lecturist x Sarawit ของนิตยสารสาระวิทย์ มาร่วมพูดคุยทำความรู้จักกับคำว่า STEAM ผ่านประสบการณ์ของนานุ ในฐานะที่เป็นนักสร้างสรรค์สายสหวิชาชีพ คนหนึ่งของไทย
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/8Mi7xRJW_ik

Tuesday Apr 05, 2022
Sci เข้าหู EP.34 - Hen Friendly ครั้งแรกของไทย ไข่จากโปรตีนพืช
Tuesday Apr 05, 2022
Tuesday Apr 05, 2022
ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมานี้ ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่มีการพูดถึงกันมากและมีวางจำหน่ายให้เลือกซื้อในร้านค้าชั้นนำทั่วไปแล้ว คือ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืช หรือ ‘Plant-based’ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ ไส้กรอก แฮมเบอร์เกอร์ แต่วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับผลิตภัณฑ์อาหาร Plant-based ชนิดใหม่ที่ยังไม่เคยมีการจำหน่ายในไทยมาก่อน ‘Hen Friendly’ ผลิตภัณฑ์ ‘ไข่เหลว’ สีเหลืองทองน่ารับประทานจากโปรตีนพืช นวัตกรรมที่คิดค้น วิจัย และพัฒนาโดยคนไทย เรียกได้ว่าเป็นไข่จากพืชครั้งแรกของไทย
วันนี้รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.อติกร ปัญญา (ดร.กล้า) หัวหน้าทีมวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ BIOTEC สวทช. คุณณประภัสสร ต่อเทียนชัย (จ๋า) และคุณนลิน แซ่นิ้ม (หนิง) Co-founder Hen Friendly มาร่วมพูดคุยบอกเล่าถึงงานวิจัยผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืช หรือ ‘Plant-based’ จนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์อาหาร Hen Friendly’ ขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/T0Qqqe9x5AU

Tuesday Mar 22, 2022
Sci เข้าหู EP.33 - AMED Telehealth แพลตฟอร์ม Home Isolation รับมือโควิด 19
Tuesday Mar 22, 2022
Tuesday Mar 22, 2022
ปัจจุบันตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทยสูงมาก มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ทำให้ภาครัฐต้องหันมาใช้แนวทางการรักษาแบบ Home Isolation คือ ให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการกักตัวดูแลตนเองที่บ้าน ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทีมแพทย์และพยาบาลจะมีการติดตาม สื่อสาร ดูแลอย่างใกล้ชิดผ่านระบบหลังบ้านที่มีชื่อว่า “AMED Telehealth”
AMED Telehealth เป็นแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ที่แยกกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation และการแยกกักตัวในชุมชน หรือ Community Isolation โดยผู้ที่ใช้แพลตฟอร์มนี้จะเป็นหน่วยที่ให้บริการทางการแพทย์ เช่น โรงพยาบาล คลินิก ที่มีแพทย์ พยาบาลหรือสหวิชาชีพ สามารถใช้ติดตามอาการ รักษา ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดผ่านระบบได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์และพยาบาลอย่างเป็นระบบ ลดการเดินทางมายังโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการลดภาระให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า
วันนี้รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก คุณวัชรากร หนูทอง นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. มาร่วมพูดคุยและบอกเล่าถึงรายละเอียดของแพลตฟอร์ม AMED Telehealth
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/72E7O2iRN90

Tuesday Mar 08, 2022
Sci เข้าหู EP.32 - NAC2022 พลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมไทย ด้วยงานวิจัย-นวัตกรรม BCG
Tuesday Mar 08, 2022
Tuesday Mar 08, 2022
การจัดงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 17 หรือ NAC2022 ภายใต้แนวคิด “พลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมไทย ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม BCG” โดยจะจัดบนแพลตฟอร์มออนไลน์เต็มรูปแบบผ่านทางเว็บไซต์ www.nstda.or.th/nac ระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2565 เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศทุกวัยได้เข้าไปหาความรู้ อัปเดตเทคโนโลยีและนวัตกรรม จากศักยภาพของบุคลากรวิจัยและห้องปฏิบัติการ สวทช. เพื่อนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียกระดับคุณภาพของสินค้าและบริการ
นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. มาร่วมสนทนาเพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับงาน NAC2022 กับบทบาทสำคัญของ สวทช. ในการขับเคลื่อนนโยบาย BCG ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์อย่างยั่งยืน
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/afWawctWhtM

Tuesday Mar 01, 2022
Sci เข้าหู EP.31 - นาฬิกาอะตอมแห่งประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนงานวิจัย
Tuesday Mar 01, 2022
Tuesday Mar 01, 2022
เรื่องของ “เวลา” ที่เรารู้จักหรือใช้กันอยู่ทุกวันจนดูเหมือนเป็นเรื่องใกล้ตัวนั้น ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญมาก เพราะเวลาไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ใช้บอกเวลาในชีวิตประจำวันหรือการทำกิจกรรมต่างๆ แต่ยังมีความสำคัญในด้านอื่นๆ เช่น การสื่อสาร 5G Internet of Things : IoT การทำงานของระบบ Radar หรือระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น ดังนั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเวลาและความถี่ของประเทศ จึงมีความสำคัญมากต่อการสร้างศักยภาพให้แก่ระบบดิจิทัล
นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจากทีมนักวิจัยจากสถาบันมาตรวิทยา และ Quantum Technology Foundation (Thailand) มาร่วมพูดคุยถึง โครงการนาฬิกาอะตอมเชิงแสงของไอออนธาตุอิธเธอเบียม (Ytterbium ion optical clock) ที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเวลาและความถี่ของประเทศไทย ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อการวัดทางมิติและการวัดทางไฟฟ้าให้มีความแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการทำวิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัม ไม่ว่าจะเป็นมาตรวิทยาและการตรวจวัดเชิงควอนตัม (Quantum Metrology and Sensing) หรือควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer)
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/P2zj6TQzf_o

Tuesday Feb 08, 2022
Sci เข้าหู EP.30 - รวบรวมข้อมูลทางม้าลาย ด้วยแพลตฟอร์ม Traffy Share
Tuesday Feb 08, 2022
Tuesday Feb 08, 2022
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวใหญ่ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ กับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางม้าลายจนมีผู้เสียชีวิต และมีพื้นที่อีกหลายแห่งที่ทางม้าลายอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
Traffy Share ระบบให้บริการรวบรวมข้อมูลด้วยพลังมวลชน เรื่องที่น่าสนใจและเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อผู้อื่นแจ้งได้ง่ายๆ ผ่าน LINE : @traffyshare เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่อยู่บนแผนที่ประเทศไทย ระบบจะแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของท่านให้ผู้อื่นที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับทราบ เพื่อแจ้งเตือน เฝ้าระวัง และวางแผนจัดการได้อย่างทันท่วงที
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. จึงได้ชวน ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม หรือ ดร.จุ๊บ หัวหน้าทีมวิจัย ทีมวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) หัวหน้าทีมผลงานวิจัย "Traffy Share" มาร่วมพูดคุยและบอกเล่าถึงรายละเอียดของผลงานวิจัยชิ้นนี้
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/HIx4q2F7oTE

Tuesday Jan 25, 2022
Tuesday Jan 25, 2022
ความรู้และความคิดแบบวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานสำคัญของมนุษย์ ในการใช้ชีวิตในโลกยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ปัญหาหนึ่งของสังคมไทยที่มีมาอย่างยาวนาน ก็คือการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ให้เข้าถึงคนในสังคมและเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ ไม่หลงเชื่อเรื่องหลอกลวง หรือเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่
นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้ชวน น้องภูริ ศิวสิริการุณย์ นักเรียนระดับชั้น ม.5
ผู้ก่อตั้งช่อง YouTube, Clubhouse และ เพจ The Projectile นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ที่ลงลึกถึงปรัชญาวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างพื้นฐานสังคมไทยให้มีความแข็งแรงทางความคิดแบบวิทยาศาสตร์
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/L7MfErLKW7A

Thursday Jan 13, 2022
Sci เข้าหู EP.28 - โอมิครอน สายพันธุ์สั่นคลอนโลก
Thursday Jan 13, 2022
Thursday Jan 13, 2022
ประเด็นร้อนในช่วงนี้ที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ก็คือเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล กับโควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือ โอมิครอน ซึ่งถูกรายงานว่าพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ โดยปัจจุบันพบว่ามีการระบาดไปแล้วทั่วโลก ซึ่งประเด็นที่สำคัญก็คือ โอมิครอน ระบาดได้เร็วกว่าโควิดสายพันธุ์เดลต้า แม้ว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วจะมีอาการไม่รุนแรงหรือแทบไม่มีอาการ อย่างไรก็ตาม เราควรต้องเฝ้าระวังและดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์และนักวิจัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักเขียนประจำมติชน สุดสัปดาห์ และนิตยสารสาระวิทย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลงานวิจัยของนักวิจัยไทยและต่างประเทศ ในเรื่องเกี่ยวกับโควิด มาร่วมพูดคุยให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับโควิด 19 และโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังแพร่ระบาดทั่วโลกอยู่ในขณะนี้
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่
https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/
https://youtu.be/U0152JZei68