Episodes

Thursday Apr 22, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.38 - วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเบื้องหลัง การเคี้ยวและการกลืน
Thursday Apr 22, 2021
Thursday Apr 22, 2021
ก่อ กอง Science ในตอนนี้เราได้พูดคุยกับ ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส นักวิจัยจากทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค ในเรื่องของการนำความรู้ด้านสมบัติเชิงกลของวัสดุมาใช้ในการปรับเนื้อสัมผัสของอาหาร ให้สามารถเคี้ยว และกลืนได้ง่าย ซึ่งในผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากต้องรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการสำลัก ซึ่งจะทำให้อาหารเข้าไปในหลอดลม มาเรียนรู้กันว่านักวิจัยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใดบ้างมาช่วยออกแบบให้เหมาะสมและปลอดภัยแก่ผู้บริโภคที่มีภาวะกลืนลำบาก ติดตามได้ในพอดแคตส์ตอนนี้ครับ

Thursday Apr 15, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.37 - เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์อาหาร กับพฤติกรรมผู้บริโภค
Thursday Apr 15, 2021
Thursday Apr 15, 2021
ก่อ กอง Science ในตอนนี้เราได้พูดคุยกับ ดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิ นักวิจัยจากทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค ในเรื่องของการออกแบบอาหาร ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มต่างๆ เช่นผู้บริโภคที่มีปัญหาด้านการบดเคี้ยวและการกลืน กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น มาเรียนรู้กันว่า กระบวนการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคทำอย่างไร และนักวิจัยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาช่วยออกแบบให้เหมาะสมและปลอดภัย แก่ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มอย่างไร ติดตามได้ในพอดแคตส์ตอนนี้ครับ

Thursday Apr 08, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.36 - เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์อาหาร
Thursday Apr 08, 2021
Thursday Apr 08, 2021
ก่อ กอง Science ในตอนนี้เราได้พูดคุยกับ ดร.นิสภา ศีตะปันย์ หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค ในเรื่องเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์อาหาร เรามาเรียนรู้กันว่า อาหารที่เรารับประทานกันในทุกๆ วัน มีวิทยาศาสตร์อะไรซ่อนอยู่บ้าง และนักวิจัยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาช่วยออกแบบและปรับปรุงอาหาร ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคแต่ละกลุ่มอย่างไร ติดตามได้ในพอดแคตส์ตอนนี้ครับ

Thursday Apr 01, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.35 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแมลง
Thursday Apr 01, 2021
Thursday Apr 01, 2021
ช่วงต้นปี 2021 มีข่าวว่าจำนวนประชากรแมลงกำลังลดลง นับโดยมวลรวมเป็นจำนวนร้อยละ 0.9 – 2.5 ต่อปี ซึ่งถ้าเจาะลงไปในแต่ประเภทจะเห็นว่าลดลงไปอย่างมาก เช่น ผีเสื้อ แมลงปีกแข็ง ผึ้ง เป็นต้น การลดลงของจำนวนแมลงมีสาเหตุหลักเกิดจากอะไร และจะมีผลกระทบอะไรกับโลกของเราบ้าง นอกจากนี้แมลงยังมีแง่มุมอื่นๆ ที่น่าทึ่งอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในพอดแคสตอนนี้ครับ

Thursday Mar 25, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.34 - อารยธรรมซูเมอร์
Thursday Mar 25, 2021
Thursday Mar 25, 2021
ก่อ กอง Science ในตอนนี้จะพาย้อนเวลาไปช่วงของอารยธรรมแรกๆ ของโลก นั่นคืออารยธรรมซูเมอร์ในเมโสโปเตเมีย ดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย ได้แก่ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส อารยธรรมซูเมอร์ ดำรงอยู่ในช่วง 4500 – 1900 ปีก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมซูเมอร์ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์อะไรไว้บ้าง และมีสิ่งประดิษฐ์ใดบ้างที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน ติดตามได้ในพอดแคสตอนนี้ครับ

Thursday Mar 18, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.33 - เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci)
Thursday Mar 18, 2021
Thursday Mar 18, 2021
รายการก่อ กอง Science ในครั้งนี้จะมาพูดคุยเรื่องของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ซึ่งหลายๆ คนจะนึกถึงภาพโมนาลิซ่า ภาพอาหารค่ำมื้อสุดท้าย รวมไปถึงภาพ Vitruvian Man แสดงถึงชายเปลือยที่ยืนกางแขนกางขา หรือถ้าเป็นบุคคลในวงการแพทย์ ก็จะทราบดีกว่า ดา วินชี เป็นนักกายวิภาคที่ทำการศึกษาร่างกายมนุษย์อย่างละเอียด แต่ครั้งนี้จะมาพูดถึงมุมที่น้อยคนจะรู้ ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นนักอ่าน นักจดบันทึก นักวาดแผนที่เมือง และอื่นๆ อีกมากมาย รายละเอียดเป็นอย่างไร ติดตามได้ในพอดแคสต์ตอนนี้ครับ

Thursday Mar 11, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.32 - 10 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกในทัศนะของ MIT ปี 2021
Thursday Mar 11, 2021
Thursday Mar 11, 2021
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีนับแต่ปี ค.ศ. 2001 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) หรือ MIT จะประกาศ 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนโลก ที่เรียกว่า 10 Breakthrough Technologies และในปี ค.ศ. 2021 นี้มาดูกันว่า 10 เทคโนโลยีนี้มีอะไรบ้าง ติดตามได้ในพอดแคสต์ตอนนี้ครับ

Thursday Mar 04, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.31 - น้ำท่วมและธารน้ำแข็งแตกหักที่รัฐอุตตราขัณฑ์
Thursday Mar 04, 2021
Thursday Mar 04, 2021
รายการก่อ กอง Science ในครั้งนี้จะชวนมาเรียนรู้เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในรัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 นั่นคือภัยน้ำท่วมซึ่งเกิดจากธารน้ำแข็งที่แตกและหลุดออกมาด้วย ทำให้เกิดน้ำท่วม มาฟังกันว่า สาเหตุที่เป็นไปได้มีอะไรบ้าง และผลกระทบจากเหตุการณ์นี้คืออะไรบ้าง ติดตามได้ในพอดแคสตอนนี้ครับ

Thursday Feb 25, 2021
Thursday Feb 25, 2021
ก่อ กอง Science ในตอนนี้จะมาพูดถึง คาร์ล เซแกน นักดาราศาสตร์และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1934 - 1996) ซึ่งอิทธิผลจากงานของเซแกนส่งผลต่อคนในปัจจุบันมากมาย ผลงานชิ้นสำคัญ เช่น ซีรีส์สารคดีด้านวิทยาศาสตร์ชื่อ คอสมอส ซึ่งมีผู้ชมทั่วโลกกว่า 500 ล้านคน และผลงานด้านหนังสือที่ถูกแปลไปหลายภาษาทั่วโลก ซึ่งผลงานส่วนมากของเซแกนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของจักรวาล โดยมีความชำนาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับบรรยากาศของดาวเคราะห์ เซแกนเป็นหนึ่งในคนสำคัญที่ผลักดันให้มีการสำรวจอวกาศและการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่อยู่นอกโลก

Thursday Feb 18, 2021
ก่อ กอง SCIENCE EP.29 - การสำรวจดาวอังคาร
Thursday Feb 18, 2021
Thursday Feb 18, 2021
รายการก่อ กอง Science ในครั้งนี้จะชวนมาติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2021 นี้ เนื่องจากจะมียานอวกาศ 3 ลำ จาก 3 ประเทศ เดินทางจะไปเยือนดาวอังคาร เรามาฟังกันว่ามีประเทศใดบ้างที่ส่งยานไปสำรวจดาวอังคาร ไปทำภารกิจอะไรบ้าง และเรามาหาเหตุผลกันว่าทำไมดาวอังคารถึงเป็นดาวที่ถูกศึกษามากที่สุด ติดตามกันได้ในพอดแคสต์ตอนนี้ครับ